Transition to Work ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณชาญณรงค์ ตุ่นแก้ว ผู้บริหารอาวุโส สำนักบริหารงานทรัพยากรบุคคลกลาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF และคุณสัมฤทธิ์ อนุภักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมและกีฬา Sustainable Development Office กลุ่มเซ็นทรัล (Central Group) แลกเปลี่ยนกันในฐานะผู้ผลิต (Supply Side) ในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในสายอาชีพเพื่อการมีงานทำให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (Demand Side) วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์ จัดการศึกษาสายอาชีพสำหรับคนพิการตามกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 และฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และฉบับที่ 2 พ.ศ….
Month: December 2024
สะพานเชื่อมโยงการศึกษาผู้เรียนพิการ สพฐ.-สอศ.
สะพานเชื่อมโยงการศึกษาผู้เรียนพิการ สพฐ.-สอศ. ผมและครูน้อย อักษรเพชร วิจิตรเรืองชัย (นายอคิราห์ วิจิตร) ได้รับเชิญเข้าร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนการศึกษาเชื่อมโยงผู้เรียนพิการ ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2563 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างมูลนิธิคุณพุ่ม มูลนิธิออทิสติกไทย (Autistic Thai Foundation มูลนิธิออทิสติกไทย) โรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในความเป็นบุคลากรทางการศึกษาของผม เริ่มตั้งแต่เป็นนักศึกษาสายครุศาสตร์ จนจบการศึกษามาทำงานเป็นครูอัตราจ้าง บรรจุเข้ารับราชการครู ขยับเป็นรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จนวันนี้เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา ผมมีความรู้น้อยมากเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ แต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ผมย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์ ผมเริ่มสนใจงานด้านการศึกษาสำหรับคนพิการเพื่อการมีงานทำ และเริ่มศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างเป็นระบบมากขึ้น การสัมมนาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีหน้าที่จัดการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับคนพิการ กำกับดูแลโดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) สามารถที่จะร่วมกันจัดการเรียนการสอนหรือส่งต่อผู้เรียนพิการไปยังสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่มีหน้าที่จัดการศึกษาสายอาชีพเพื่อการมีงานทำ ซึ่งในปัจจุบันดูแลโดยศูนย์พัฒนา ส่งเสริม ประสานงาน กิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ (ศพก.) และยังมีมูลนิธิคุณพุ่มและมูลนิธิออทิสติกไทยเข้าร่วมสัมมนาด้วย ทำให้มองเห็นภาพความเชื่อมโยงในการที่จะพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการได้ชัดเจนยิ่งขึ้น…